ประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง – โครงสร้างพื้นที่จะถูกเลือกนำมาใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

หากเพื่อนๆ มีความประสงค์ที่จะทำการก่อสร้างต่อเติมส่วนของอาคารเพื่อที่จะใช้เป็นบันไดหนีไฟที่มีขนาดความสูงเท่ากับ 5 ชั้น (รวมชั้นดาดฟ้า) ซึ่งทางสถาปนิกได้เลือกทำการออกแบบและก่อสร้างโดยใช้วัสดุหลักเป็นโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่อาคารหลังนี้มีจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นอาคารถาวร หรือ PERMANENT BUILDING มิใช่อาคารชั่วคราว หรือ TEMPORARY BUILDING คำถามในวันนี้ก็คือ เพื่อให้อายุการใช้งานของอาคารนั้นเป็นปกติ และ มีสมรรถนะในการใช้งานที่ดี ผมควรที่จะเลือกระบบโครงสร้างพื้นแบบใดเพื่อใช้เป็นพื้นของห้องๆ นี้ระหว่าง
(A) โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก หรือ STRUCTURAL STEEL GRATING
(B) โครงสร้างพื้นเหล็กแผ่นลาย หรือ STRUCTURAL STEEL CHECKERED PLATE
(C) โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ STRUCTURAL CONCRETE PRE-CAST SLAB
(D) โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ หรือ STRUCTURAL CONCRETE CAST-IN-PLACE SLAB

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาโครงสร้างพื้นที่จะถูกเลือกนำมาใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาช่วยกันหาคำตอบว่าระบบโครงสร้างพื้นแบบใดที่จะมีความเหมาะสมนำมาใช้ในการก่อสร้างห้องๆ นี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ

จริงๆ แล้วหากเพื่อนๆ จะทำการเลือกข้อใดเป็นคำตอบสำหรับคำถามในวันนี้ก็ได้นะเพียงแต่แน่นอนว่าหากทำการเปรียบเทียบกันแล้วก็จะมีเพียงคำตอบเพียงหนึ่งข้อเท่านั้นที่จะมีความเหมาสม ซึ่งหากพิจารณาตามหลักการทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างแล้วสิ่งที่เพื่อนๆ อาจจะนึกถึงเป็นประเด็นแรกก็คือเรื่องของความ “ประหยัด” ดังนั้นหากเราต้องการความประหยัดให้เกิดขึ้นในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้างเสาเข็มและฐานรากหรืองานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ เช่น ชิ้นส่วนคานเหล็กรูปพรรณ ชิ้นส่วนเสาเหล็กรูปพรรณ เป็นต้น เพื่อนๆ ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้งานชิ้นส่วนของโครงสร้างพื้นที่จะมี “น้ำหนักของตัวโครงสร้างเอง” หรือ “STRUCTURAL SELF-WEIGHT” ที่น้อยที่สุดเป็นหลักนะครับ
หากเพื่อนๆ ลองทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติในเรื่องของน้ำหนักของตัวโครงสร้างเองระหว่างโครงสร้างพื้นที่ทำขึ้นจากวัสดุเหล็กรูปพรรณและโครงสร้างพื้นที่ทำขึ้นจากวัสดุคอนกรีตแล้ว เพื่อนๆ ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าโครงสร้างพื้นที่ทำขึ้นจากวัสดุเหล็กรูปพรรณนั้นจะมีน้ำหนักของตัวโครงสร้างเองที่น้อยกว่าโครงสร้างพื้นที่ทำขึ้นจากวัสดุคอนกรีตหลายสิบเท่าเลย ดังนั้นผมขอตัดเอาข้อ (C) และ (D) ออกไปก่อนเลยก็แล้วกันนะ ซึ่งก็จะทำให้เหลือเพียงข้อ (A) และ (B) แล้วนะครับ
จะว่าไปแล้วหากเราจะทำการเปรียบเทียบระหว่างข้อ (A) และ (B) เราอาจจะไม่พบความแตกต่างใดๆ ในเรื่องของคุณสมบัติทางด้านน้ำหนักของตัวโครงสร้างเองเลย ดังนั้นคุณสมบัติข้อต่อมาที่เราควรนำมาพิจารณาก็จะเป็นเรื่องของ “ความคงทนของโครงสร้าง” หรือ “STRUCTURAL DURABILITY” ที่ดีที่สุดเป็นหลักนะครับ

หากเพื่อนๆ ลองทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติในเรื่องของความคงทนของโครงสร้างระหว่างข้อ (A) และ (B) เราก็จะพบว่าทั้งสองข้อนี้ก็แทบจะไม่แตกต่างกันมากนักยกเว้นเพียงแต่คุณสมบัติข้อหนึ่งนั่นก็คือ เรื่องของการป้องกันการเกิดสนิม ในแผ่นพื้นเพราะหากเพื่อนๆ เลือกใช้งานเป็น โครงสร้างพื้นเหล็กแผ่นลาย เพื่อนๆ ก็จะพบว่าหากทำการก่อสร้างโดยที่ไม่ได้มีการควบคุมในเรื่องของความลาดชันให้มีความถูกต้องและเรียบร้อยดี พื้นชนิดนี้ก็ยังมีโอกาสที่น้ำนั้นจะเกิดการขังตัวอยู่ได้นะ แต่ หากเพื่อนๆ เลือกใช้งานเป็น โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก ซึ่งตัวพื้นเองนั้นก็จะมีลวดลายเป็นมีรูกลวง โดยจะมีรูปทรงเป็นวงกลมหรือรูปหลายๆ เลี่ยมก็ตามแต่ ดังนั้นต่อให้การก่อสร้างนั้นไม่ได้มีการควบคุมในเรื่องของความลาดชันให้ออกมามีความเรียบร้อยดี พื้นชนิดนี้ก็ไม่มีโอกาสที่น้ำนั้นจะเกิดการขังตัวอยู่ได้เลย อีกทั้งเรายังสามารถที่จะทำการออกแบบโดยสั่งและกำหนดให้ผู้ทำการก่อสร้างนั้นใช้ โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก ชนิดที่จะถูกให้ชุบด้วยกัลวาไนซ์มาจากโรงงานผู้ผลิตได้อีกต่างหาก ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าเป็นการปิดตายในเรื่องของการเกิดสนิมในตัวชิ้นส่วนโครงสร้างพื้นไปเลย ที่เหลือก็เพียงแต่ทำการบำรุงและรักษาพื้นชนิดนี้ให้ตรงตามที่ทางผู้ผลิตได้ให้คำแนะนำเอาไว้ก็เพียงเท่านั้นครับ

ดังนั้นคำตอบที่น่าจะมีความเหมาะสมตรงตามลักษณะและเงื่อนไขของปัญหาข้อนี้มากที่สุด ที่เราอาจจะเลือกนำมาใช้งานก็คือ ข้อ (A) โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาโครงสร้างพื้นที่จะถูกเลือกนำมาใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com