“ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันกับค่าๆ หนึ่งที่มีความสำคัญมากเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบโครงสร้างเสา คสล เพื่อใช้ในการต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวนั่นก็คือ การออกแบบลักษณะของการโอบรัดทางด้านข้าง หรือ CONFINEMENT DESIGN ภายในหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล เพื่อที่จะทำการคำนวณหาว่า ค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง หรือ CONFINED COMPRESSIVE STRESS นั้นเพียงพอหรือไม่นั่นเองนะครับ


ผมต้องขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนว่าเท่าที่ผมสัมผัสมาด้วยตนเองนั้นผมมักไม่ค่อยเห็นวิศวกรท่านใดที่ทำการพูดถึงเรื่องนี้มากนัก โดยมากแล้วพอเราพูดถึงเรื่องของลักษณะของการโอบรัดทางด้านข้างเราก็มักจะนึกถึงเพียงแค่ระยะห่างมากที่สุดของเหล็กปลอกในตำแหน่งต่างๆ ของโครงสร้างเสา คสล ที่มาตรฐานการออกแบบได้กำหนดให้มีการใช้งานในโครงสร้าง ซึ่งหากเป็นวิศวกรที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านทำการออกแบบโครงสร้างที่ต้องรับแรงกระทำจากการสั่นสะเทือนอันเนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวน่าที่จะรู้จักกับค่าๆ นี้เป็นอย่างดี ซึ่งเท่าที่ผมสอบถามเพื่อนๆ วิศวกรทั่วๆ ไปก็ไม่มีใครที่รู้จักหรือมีความคุ้นเคยกับค่าๆ นี้เท่าใดนัก ไม่เป็นไร วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้ความรู้กับเพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ก็แล้วกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและเหมาะสมในเรื่องของข้อจำกัดเกี่ยวความยาวของการโพสต์ที่ตัวผมเองไม่อยากที่จะให้เนื้อหาของการโพสต์นั้นยืดยาวจนเกินไปนัก ดังนั้นคำอธิบายของผมในวันนี้จึงเป็นการสรุปและพูดถึงเฉพาะใจความสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ นี้เท่านั้นนะครับ

สาเหตุและความสำคัญที่วิศวกรมีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณานำเอามาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนี้มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ของเราเป็นเพราะหากย้อนกลับไปดูในมาตรฐานการออกแบบเสา คสล ตามมาตรฐานของฝั่งอเมริกาหรือฝั่งบ้านเราก็ดี เช่น มาตรฐาน ACI และมาตรฐาน EIT ตามลำดับ จะพบว่าในมาตรฐานการออกแบบนั้นได้มีการระบุเอาไว้ว่า หน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ภายในโครงสร้างของอาคารทั่วๆ ไปนั้นจะมีค่าหน่วยแรงอัดสูงสุดของคอนกรีตอยู่ในช่วงประมาณ 180 KSC ถึง 250 KSC และสำหรับเหล็กเสริมนั้นจะมีค่าหน่วยแรงที่จุดครากอยู่ในช่วงประมาณ 3000 KSC ถึง 4000 KSC ทั้งนี้หากพูดถึงเรื่อง ค่าความเครียด หรือค่า STRAIN บ้างก็จะพบว่า วัสดุคอนกรีตจะมีค่าความเครียดอัดสูงสุดก่อนที่จะเกิดการวิบัติมีค่าเท่ากับ 0.003 MM/MM ในขณะที่วัสดุเหล็กเสริมนั้นจะมีค่าความเครียดที่จุดครากอยู่ที่ประมาณ 0.002 MM/MM ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ค่าความเครียดในเหล็กเสริมที่อยู่ภายในโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นจะถึงจุดครากก่อนที่คอนกรีตนั้นจะถูกอัดจนถึงค่าความเครียดอัดสูงสุดที่จะสามารถรับได้อยู่เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นเองนะครับ

ทั้งนี้หากเราทำการพิจารณาดูภายในหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล เราก็จะพบว่า เหล็กเสริมที่เป็นเหล็กยืนนั้นจะต้องถูกโอบรัดทางด้านข้างด้วยเหล็กปลอกที่อยู่ในแนวขวางอยู่แล้ว ซึ่งผลจากการทดสอบจากงานวิจัยหลายๆ งานได้ทำการสรุปและบ่งชี้ว่า ลักษณะของการโอบรัดดังกล่าวนี้จะส่งผลทำให้ค่าหน่วยแรงอัดในคอนกรีตส่วนนี้มีค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นจะสามารถทำการคำนวณหาออกมาได้จากสมการดังต่อไปนี้
fcc’ = fc’ + k1 × f1

ทั้งนี้ค่า fcc’ ก็คือ ค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง สำหรับค่า fc’ ก็คือ ค่าหน่วยแรงแรงอัดของคอนกรีตที่ยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง ส่วนค่า k1 ก็คือ ค่าสัมประสิทธิ์การโอบรัดแบบประสิทธิผล และค่า f1 ก็คือ หน่วยแรงดันที่เกิดจากการโอบรัด นะครับ

ซึ่งนอกจากค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนี้จะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญมากกว่านั้นก็คือ จะส่งผลทำให้ค่าความเครียดอัดสูงสุดก่อนที่จะเกิดการวิบัติของคอนกรีตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากเลย ดังนั้นยิ่งเรามีช่วงความต่างระหว่างค่าความเครียดสูงสุดของคอนกรีตและเหล็กเสริมมากเท่าใด นั่นก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มความเหนียวหรือ DUCTILITY ให้แก่โครงสร้างเสา คสล ของเรานั่นเอง ซึ่งหากเพื่อนๆ ดูภาพประกอบในโพสต์ๆ นี้ก็น่าที่จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่ผมกำลังพูดถึงนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้นนะครับ

เอาเป็นว่าผมขอทำการอธิบายและสรุปสั้นๆ ไว้แต่เพียงเท่านี้ก็แล้วกันนะ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะอ่านแล้วแต่ยังมีข้อสงสัยประการใดเพิ่มเติม ก็สามารถที่จะสอบถามเข้ามาเพิ่มเติมได้ หากผมสะดวกผมจะหาเวลามาเขียนอธิบายให้เพิ่มเติมในภายหลังก็แล้วกัน สำหรับครั้งหน้าผมจะขออนุญาตมาทำการสาธิตขั้นตอนในการคำนวณหาว่า หากเรามีหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกโอบรัดด้วยเหล็กปลอกแล้ว เราจะมีวิธีในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างได้อย่างไรบ้าง หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในการโพสต์ครั้งต่อไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam