ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL กันอยู่และหลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงหลายๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไปแล้ว เช่น โครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL BEAM โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE เป็นต้น และเพื่อให้ต่อเนื่องจากในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งผมได้พูดถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั่นก็คือ โครงสร้างพื้น หรือ FLOOR STRUCTURE ที่เรามักจะนำมาใช้ในงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาอธิบายถึง โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ หรือ STRUCTURAL CONCRETE CAST-IN-PLACE SLAB นั่นเองครับ

ซึ่งหากเพื่อนๆ ติดตามโพสต์ของผมในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาก็น่าจะทราบกันไปแล้วว่าการใช้งานโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่นั้นแทบจะเหมือนกันกับการเลือกใช้งานโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ STRUCTURAL CONCRETE PRE-CAST SLAB เลยแต่ก็จะมีความแตกต่างหลักๆ ระหว่างพื้นทั้ง 2 ระบบนี้ก็คือ โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป นั้นจะทำการก่อสร้างได้ยากกว่า โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ มากๆ เนื่องด้วยการก่อสร้างพื้นห้องน้ำจะต้องทำการเจาะและฝัง SLEEVE งานท่อต่างๆ ของงานวิศวกรรมระบบสุขาภิบาล ซึ่งหากเราเลือกใช้งานพื้นเป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป พื้นชนิดนี้จะทำการเจาะและฝัง SLEEVE ได้ยากมากๆ เพราะจะมีผลต่อเรื่องต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น มีผลต่อเรื่องความแข็งแรงเพราะไม่ว่าเราจะเลือกใช้งานพื้นให้เป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดตัน หรือ SOLID PLANK SLAB หรือจะเป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดกลวง หรือ HOLLOW CORE SLAB ก็ตาม เวลาที่ทำการเจาะพื้นชนิดนี้ก็จะมีโอกาสที่จะต้องเจอกับ ลวดอัดแรง หรือ PRESTRESSING WIRES ที่อยู่ภายในแผ่นพื้นนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งวิธีการทำงานที่ควรจะทำก็คือ ทำเป็นช่องเปิด เพื่อที่จะใช้เป็นช่อง SHARP เพื่อที่จะใช้เดินงานระบบโดยเฉพาะเลย ซึ่งต่อให้ทำตามวิธีการดังกล่าว พื้นระบบนี้ก็ยังต้องทำการติดตั้งด้วยระบบกันซึมเป็นอย่างดีอีกด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งนี่ยังไม่ได้ทำการนับรวมผลจากการที่เราต้องคอยดูแลรักษาพื้นชนิดนี้ต่อไปในอนาคต เป็นต้นนะครับ

ถึงแม้ว่าโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่นั้นจะมีการก่อสร้างด้วยกรรมวิธีการวางเหล็กเสริม ทำการตั้งแบบท้องและแบบข้างแล้วก็ค่อยทำการเทคอนกรีตแต่อย่างไรก็ดีพื้นชนิดดังกล่าวก็ยังคงคุณสมบัติเหมือนกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอยู่นั่นก็คือมันจะมีพฤติกรรมของโครงสร้างของพื้นชนิดนี้จะมีชื่อเฉพาะที่ใช้ในการเรียกว่า หน้าตัดที่อาศัยวัสดุผสม หรือ COMPOSITE SECTION แต่จะมีความแตกต่างตรงที่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัสดุเพียงแค่ 2 อย่างซึ่งก็จะได้แก่ เหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมต้านทานการหดตัว และ คอนกรีตที่หน้างาน ดังนั้นหากพูดถึงการเปรียบเทียบกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปในเรื่องของการที่หน้าตัดโครงสร้างของเรานั้นจะมีความไม่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมบูรณ์ หรือ NON-HOMOGENEOUS SECTION พื้นชนิดนี้ก็จะมีคุณสมบัติดังกล่าวที่ถือได้ว่าดีกว่า พูดง่ายๆ ก็คือมีความสมบูรณ์ที่มากกว่า ดังนั้นเราอาจจะอาศัยโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปให้เป็นพื้นที่ต้องสัมผัสกับน้ำเกือบจะตลอดเวลาได้ เช่น โครงสร้างพื้นสำหรับห้องน้ำ โครงสร้างพื้นสำหรับระเบียง โครงสร้างพื้นสำหรับซักล้าง โครงสร้างพื้นสำหรับชั้นดาดฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ดีหากเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะประสบพบเจอกับปัญหาเรื่องของการที่น้ำนั้นเกิดการรั่วและซึมเลย เพื่อนๆ ก็ควรที่จะต้องทำงานในขั้นตอนกันซึมให้แก่โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่อยู่ดีนะครับ

สืบเนื่องจากการที่พื้นชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางด้านความเป็นเนื้อเดียวกันที่ดีกว่าโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปและเรายังจะสามารถเลือกกำหนดให้พื้นชนิดนี้มีรายละเอียดของเหล็กเสริมที่อยู่ภายในแผ่นพื้นได้รวมถึงขนาดของความหนาที่มากกว่าพื้นชนิดอื่นๆ ได้ ดังนั้นเราจะสามารถนำผลของค่าความแข็งเกร็งทางด้านข้าง หรือ LATERAL STIFFNESS ของโครงสร้างพื้นชนิดนี้มาใช้ในการออกแบบอาคารให้มีคุณลักษณะของ DIAPHRAGM ได้โดยที่มักจะไม่ค่อยพบเจอกับปัญหาใดๆ ในเรื่องนี้มากมายนักนะครับ

ประเด็นทิ้งท้ายประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะขอหยิบยกนำเอาอธิบายพอสังเขปสำหรับโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ก็ยังคงคล้ายๆ กันกับในครั้งที่แล้วที่ผมพูดถึงเรื่องโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปนั่นก็คือ ในเมื่อโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ของเรานั้นถูกก่อสร้างขึ้นด้วยหน้าตัดที่อาศัยวัสดุผสม ดังนั้นเวลาที่โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่นั้นวางตัวลงไปบนคานเหล็กรูปพรรณซึ่งแน่นอนว่าเป็นวัสดุคนละชนิดกันกับตัวแผ่นพื้น เราจึงควรที่จะพิจารณาทำการออกแบบและก่อสร้างให้ทั้งสองวัสดุนี้มีพฤติกรรมความสอดคล้องซึ่งกันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมีความเป็นไปได้ เช่น พอหน้าตัดนั้นถูกผสมให้เข้ากันแล้วในตัวโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ก็จะเกิดแรงเค้นเฉือนตามแนวระนาบขึ้น ดังนั้นเราจะต้องพิจารณาทำการออกแบบให้มีเหล็กเสริมที่จะมาทำหน้าที่ในการถ่ายเทแรงเค้นเฉือนนี้ไปยังคานเหล็กรูปพรรณไปให้ได้ มิเช่นนั้นโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ของเราก็มีโอกาสที่จะเกิดการแยกส่วนกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณก็เป็นได้ เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วหากจะให้ทำการอธิบายถึงเรื่องรายละเอียดต่างๆ ในทุกๆ ส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ก็ยังคงมีอีกมากเลย เอาเป็นว่าผมขออนุญาตนำเอามาอธิบายใหม่ในการโพสต์ครั้งต่อๆ ไปซึ่งอาจจะเป็นโพสต์ที่เกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่โดยเฉพาะเลยก็แล้วกันนะครับ

ในสัปดาห์หน้าผมจะนำเอาเรื่องพื้นประเภทใดมาอธิบายต่อเพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องประเภทของพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่4
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com