การคำนวณเกี่ยวกับเรื่องระยะห่างระหว่างแผ่นเหล็กกับโครงสร้างฐานคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เนื่องจากในครั้งที่แล้วผมได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การก่อสร้างให้มีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างแผ่นเหล็กหรือ BASE PLATE ที่จะยึดด้วยสลักเกลียวแบบฝังยึดหรือ ANCHOR BOLT โดยที่ไม่มีการเติมด้วย NON-SHRINK GROUT ซึ่งเจ้าช่องว่างตรงนี้เองจะมีชื่อเฉพาะที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณว่า STANDOFF DISTANCE ว่ามีจุดประสงค์ในการก่อสร้างสำหรับกรณีที่โครงสร้างเสาที่จะถูกยึดลงไปบนฐานที่ทำจากคอนกรีตนั้นจะมีค่าแรงกระทำในแนวราบหรือ LATERAL FORCE และค่าแรงดัดหรือ MOMENT FORCE ที่มีค่าสูงมากกว่าปกติ ดังนั้นยิ่งเราทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้มีค่ามากเท่าใด ก็จะเป็นการช่วยลดภาระของค่าแรงกระทำที่จะเกิดขึ้นในตัวของสลักเกลียวแบบฝังยึดได้มากเท่านั้นนะครับ


ดังนั้นหลักการของทำให้มี STANDOFF DISTANCE เกิดขึ้นก็คือ เป็นการใช้ทฤษฎีของการกระจายแรง หรือ FORCE DISTRIBUTION THEORY โดยที่เราจะเริ่มต้นทำการลดค่าโมเมนต์ที่เกิดขึ้นที่แผ่นเหล็กก่อน จากนั้นแทนที่จะให้แผ่นเหล็กนั้นสัมผัสกับฐานตอม่อคอนกรีตโดยตรง เราก็เลือกที่จะทำการกระจายแรงที่เกิดขึ้นนี้ให้ไปเกิดขึ้นในสลักเกลียวแบบฝังยึดแทน ซึ่งก็เท่ากับว่าการทำเช่นนี้ใต้แผ่นเหล็กก็จะไม่เกิดแรงแบกทานใดๆ เลย ดังนั้นการออกแบบโดยวิธีการนี้เราจะให้ความสนใจเป็นพิเศษไปที่ตัวสลักเกลียวแบบฝังยึดมากหน่อย ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้วเพราะเจ้าสลักเกลียวแบบฝังยึดนี้ทำจากวัสดุเหล็กซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆในการผลิตที่ค่อนข้างจะมีความเชื่อถือได้มากกว่าวัสดุคอนกรีตค่อนข้างที่จะมาก ซึ่งก็จะช่วยทำให้สามารถประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการตรวจสอบการออกแบบในหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องวัสดุคอนกรีตไปได้เยอะทีเดียวและเท่าที่ผมสังเกตดูก็มีเพื่อนๆ แฟนเพจหลายๆ คนให้ความสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ผมเลยมีความคิดว่า วันนี้ผมจะมาทำการเปรียบเทียบให้เพื่อนๆ ได้เห็นว่า หากทำการคำนวณออกแบบระหว่างกรณีที่ 1 นั่นก็คือ แบบที่ไม่มีระยะ STANDOFF DISTANCE กับกรณีที่ 2 นั่นก็คือ แบบที่มีระยะ STANDOFF DISTANCE ความแตกต่างนั้นจะเป็นเช่นใด เพราะการทำเช่นนี้น่าที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้เพิ่มมากยิ่งขึ้นน่ะครับ

เรามาเริ่มต้นดูรูปในโพสต์ๆ นี้ก่อนก็แล้วกัน โดยที่ผมกำหนดให้ข้อมูลพื้นฐานก็คือ มีแรงกระทำในแนวราบเท่ากับ 500 KGF ตัวเสามีความสูงเท่ากับ 10 M โดยที่ผมกำหนดให้ใช้สลักเกลียวแบบฝังยึดทั้งหมดเท่ากับ 4 ตัว โดยที่มีระยะห่างระหว่างกันเท่าๆ กันเท่ากับ 400 MM หรือ 0.40 M นะครับ

หากเปรียบเทียบรายการคำนวณด้านล่างซ้ายมือก็จะเป็นกรณีที่ 1 นั่นก็คือ แบบที่ไม่มีระยะ STANDOFF DISTANCE กับรายการคำนวณด้านล่างขวามือก็จะเป็นกรณีที่ 2 นั่นก็คือ แบบที่มีระยะ STANDOFF DISTANCE เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ค่าแรงปฏิกิริยาที่บริเวณแผ่นเหล็กโดยเริ่มจากค่าแรงเฉือนของทั้ง 2 กรณีนั้นจะไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่ค่าแรงดัดนั้นจะมีความแตกต่างกันแล้ว โดยที่กรณีที่ 1 นั้นจะมีค่าแรงดัดที่สูงกว่ากรณีที่ 2 นะครับ

เรามาดูค่าที่หน้าตัดสลักเกลียวแบบฝังยึดจะต้องรับบ้าง ค่าแรงเฉือนของทั้ง 2 กรณีนั้นจะไม่ได้มีความแตกต่างกันเช่นกันแต่ค่าแรงดัดนั้นจะมีความแตกต่างกันแล้ว โดยที่กรณีที่ 2 นั้นจะมีค่าแรงดัดที่สูงกว่ากรณีที่ 1 ซึ่งจริงๆ แล้วค่าแรงดัดดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้มากมายเท่าใดนักและค่าแรงดึงก็เช่นกัน โดยที่กรณีที่ 1 นั้นจะมีค่าแรงดึงที่สูงกว่ากรณีที่ 2 สุดท้ายในตอนท้ายสุดของรายการคำนวณของกรณีที่ 1 หากเรานำเอาแรงกระทำทั้งหมดที่ถูกถ่ายต่อลงไปยังจุดรองรับใต้สุด เราจะต้องทำการพิจารณานำเอาแรงดังกล่าวไปออกแบบกับหน้าตัดของคอนกรีตโดยตรงแต่สำหรับกรณีที่ 2 หากเรานำเอาแรงกระทำทั้งหมดที่ถูกถ่ายต่อลงไปยังจุดรองรับใต้สุด เราจะต้องทำการพิจารณานำเอาแรงดังกล่าวไปออกแบบกับหน้าตัดสลักเกลียวแบบฝังยึดแทนที่จะเป็นหน้าตัดของคอนกรีตโดยตรง ทั้งนี้เราอาจจะสามารถสังเกตเห็นได้ว่า แรงกระทำที่เราจะนำไปใช้พิจารณาออกแบบตัวสลักเกลียวแบบฝังยึด ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงเฉือน ค่าแรงดัด และ ค่าแรงดึง นั้นจะมีค่าที่ลดลงไปค่อนข้างที่จะมากเลย นั่นเป็นเพราะในกรณีที่ 2 นั้นเราได้นำเอาทฤษฎีของการกระจายแรงมาใช้ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างด้วยนั่นเองครับ

โอเค ผมว่าเรามาสรุปกันสักเล็กน้อยก็แล้วกัน วิธีการออกแบบโดยที่เรากำหนดให้มีระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นจะมีประโยชน์ในหลายๆ กรณีซึ่งข้อดีหลักๆ ของการประยุกต์ใช้วิธีการนี้ก็มีหลากหลายเช่นกัน อาทิเช่น เป็นการลดภาระของคอนกรีตใต้แผ่นเหล็กนั่นก็คือทำให้ไม่ต้องรับแรงแบกทานโดยตรง การทำการกำหนดให้มีระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นนอกจากจะช่วยในเรื่องของขั้นตอนงานออกแบบแล้วยังช่วยในเรื่องขั้นตอนของการทำงานด้วยเพราะจะช่วยทำให้การกำหนดระยะเพื่อจัดวางระดับความสูงของตัวโครงสร้างเสานั้นทำได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ตัวอย่างการคำนวณเกี่ยวกับเรื่องระยะห่างระหว่างแผ่นเหล็กกับโครงสร้างฐานคอนกรีต
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com